วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันที่ 28 เมษายน 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

          บทบาทของครู
ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
กิจกรรมการเล่น : เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน : ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบจะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้างครูจดบันทึกเพื่อทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง : วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-  ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
 ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
2.ทักษะภาษา
- การวัดความสามารถทางภาษา
- การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

การสอนตามเหตุการณ์ : (Incidental Teaching)

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง : เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
อยากทำงานตามความสามารถ
เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ : การได้ทำด้วยตนเองจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและจะเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
-  ไม่ทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง : แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ เรียงลำดับตามขั้นตอน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-  เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง
 ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
- มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่


ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
          รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะครูว่าควรจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรหากพบเจอเด็กพิเศษ จะสามารถส่งเสริมทักษะและพัฒนาเด็กได้อย่างไรบ้าง 

การประเมิน 
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ไม่เสียงดัง 
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน มีการถามคำถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเข้าใจ และสร้างเสียงหัวเราะควบคู่ไปกับการเรียน ทำให้เกิดบรรยากาศที่อบอุ่น




วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันที่ 21 เมษายน 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาร่วมกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือ


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันที่ 14 เมษายน 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดสงกรานต์

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันที่ 7 เมษายน 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดราชการ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 31 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดราชการ

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 24 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

          การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                    เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
                    ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
                    เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
                    เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
                    เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
                    แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
                    โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
                    การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
                    การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
                    การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
การบำบัดทางเลือก
                    การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
                    ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
                    ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
                    การฝังเข็ม (Acupuncture)
                    การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

กิจกรรมมือของฉัน
อาจารย์มีคำสั่งว่า ให้วาดมือของตัวเองโดยห้ามดูค่ะ

มือของฉัน
เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็ให้เพื่อนทายว่ามือไหน เป็นมือของใคร




การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ) หรือ AAC
                    การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
                    โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
                    เครื่องโอภา (Communication Devices)
                    โปรแกรมปราศรัย 
Picture Exchange Communication System (PECS)







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
          ทำให้รู้วิธีการส่งเสริมหรือฟื้นฟูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต 

การประเมิน 
ประเมินตนเอง แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมสอดแทรกในบทเรียน ทำให้บรรยากาศการเรียนไม่น่าเบื่อ





วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 17 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ


        รูปแบบการจัดการศึกษา
                    การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
                    การศึกษาพิเศษ (Special Education)
                    การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
                    การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                    เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
การศึกษาแบบเรียนร่วม : (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
                    การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
                    มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
                    ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
                    ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา : (Integration)
                    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
                    เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
                    เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา : (Mainstreaming)
                    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
                    เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
                    มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
                    เด็กปกติจะ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
การศึกษาแบบเรียนรวม : (Inclusive Education)
                    การศึกษาสำหรับทุกคน
                    รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
                    จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

"Inclusive Education is Education for all, 
It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"


ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                     ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
                    สอนได้
                    เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

กิจกรรมวาดภาพดอกบัว


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
- ครูไม่ควรวินิจฉัย
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- สังเกตอย่างมีระบบ
- การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป








การนำไปประยุกต์ใช้ 
          ทำให้รู้จักการบันทึกพฤติกรรมเด็กแบบต่างๆอย่างเหมาะสม และสามารถเอาไปใช้ได้จริงในอนาคต 

การประเมิน 
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนและการทำกิจกรรม 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเนื้อหาได้ครบถ้วน มีการนำกิจกรรมมาสอดแทรกเนื้อหาทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ