วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันที่ 28 เมษายน 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

          บทบาทของครู
ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
กิจกรรมการเล่น : เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน : ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบจะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้างครูจดบันทึกเพื่อทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง : วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-  ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
 ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
2.ทักษะภาษา
- การวัดความสามารถทางภาษา
- การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

การสอนตามเหตุการณ์ : (Incidental Teaching)

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง : เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
อยากทำงานตามความสามารถ
เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ : การได้ทำด้วยตนเองจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและจะเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
-  ไม่ทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง : แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ เรียงลำดับตามขั้นตอน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-  เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง
 ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
- มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่


ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
          รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะครูว่าควรจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรหากพบเจอเด็กพิเศษ จะสามารถส่งเสริมทักษะและพัฒนาเด็กได้อย่างไรบ้าง 

การประเมิน 
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ไม่เสียงดัง 
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจเรียน มีการถามคำถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเข้าใจ และสร้างเสียงหัวเราะควบคู่ไปกับการเรียน ทำให้เกิดบรรยากาศที่อบอุ่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น