วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 27 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ



         เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)

     เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด : เด็กที่มีความบกพร่องที่เกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะ และขั้นตอนของเสียงพูด

1.ความบกพร่องด้านการปรุงเสียง (Artculator Disorders) : เสียงบางส่วนของคำหายไป ออกเสียงตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เสียงเพี้ยน
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders) : พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างภาษา เว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง พูดเร็วหรือช้าเกินไป
3.ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders) : ความบกพร่องของระดับเสียง เสียงดังหรือค่อยเกินไป

     ความบกพร่องทางภาษา : การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหายของคำพูดและหรือไม่สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นคำพูดได้

1.พัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) : ยากลำบากในการใช้ภาษา มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค ไม่สามารถสร้างประโยคได้
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
     Gerstmann's syndrome
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
-ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
-คำนวณไม่ได้ (acalculia)
-เขียนไม่ได้ (agraphia)
-อ่านไม่ออก (alexia)

          เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)

     โรคลมชัก (Epiepsy) : เกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน (แพทย์สันนิษฐาน)
1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal) : เหม่อ 5-10 วินาที จะหยุดอยู่ในท่าก่อนชัก
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) : เมื่อชักเด็กจะส่งเสียง หมดแรง ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง ประมาณ 2-5 นาที จากนั้นจะหลับไปชั่วครู่
3.การชักแบบ Partial Complex : ชักไม่เกิน 3 นาที รู้สึกตัวแต่ไม่ตอบสนองต่อคำพูด
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) : เกิดขึ้นในระยะสั้น แต่เด็กไม่รู้สึกตัว ไม่มีอาการกระตุก
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal) : เมื่อเกิดอาการชักจะหมดสติและหมดความรู้สึก ขณะชัก กล้ามเนื้อเกร็ง แขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
     การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
- จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
- ไม่จับยืดตัวขณะเด็กชัก
- หาหมอนหรือสิ่งนุ่ม รองศรีษะ
- ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก
- จัดเสื้อผ้าให้หลวม
- ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ปาก
- ช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

     ซี.พี. (Cerebral Palsy) : เป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ ไม่สั่งงานให้ร่างกายขยับ
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (Spastic)
   - spastic hemiplegia : อัมพาตครึ่งซีก
   - spastic diplegia : อัมพาตครึ่งท่อนบน
   - spastic paraplegia : อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
   - spastic quadriplegia : อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
   - athetoid : อาการขยุกขยิกหรือเคลื่อนไหวเร็วๆ ที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้า บางคนมีอาการปากเบี้ยวร่วมด้วย
   - ataxia : มีความผิดปกติในการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
   - กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) : เส้นประสาทที่คุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว จะมีความพิการซ้อนในระยะหลังคือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
   - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) : ระบบกล้ามเนื้อพิการตั้งแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก , กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน , อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด   ระบบกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค
   - โปลิโอ (Poliomyelitis) : กล้ามเนื้อเล็กลีบ ไม่มีผลต่อสติปัญญา
   - โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
   - โรคศรีษะโต (Hydrocephalus)
   - โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthitis)
   - แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)





การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถแยะแยะกลุ่มอาการบกพร่องของเด็กได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้บรรยากาศการเรียนไม่ตึงเครียด





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น