วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 27 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ



         เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)

     เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด : เด็กที่มีความบกพร่องที่เกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะ และขั้นตอนของเสียงพูด

1.ความบกพร่องด้านการปรุงเสียง (Artculator Disorders) : เสียงบางส่วนของคำหายไป ออกเสียงตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เสียงเพี้ยน
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders) : พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างภาษา เว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง พูดเร็วหรือช้าเกินไป
3.ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders) : ความบกพร่องของระดับเสียง เสียงดังหรือค่อยเกินไป

     ความบกพร่องทางภาษา : การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหายของคำพูดและหรือไม่สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นคำพูดได้

1.พัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language) : ยากลำบากในการใช้ภาษา มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค ไม่สามารถสร้างประโยคได้
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
     Gerstmann's syndrome
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
-ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
-คำนวณไม่ได้ (acalculia)
-เขียนไม่ได้ (agraphia)
-อ่านไม่ออก (alexia)

          เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)

     โรคลมชัก (Epiepsy) : เกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน (แพทย์สันนิษฐาน)
1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal) : เหม่อ 5-10 วินาที จะหยุดอยู่ในท่าก่อนชัก
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) : เมื่อชักเด็กจะส่งเสียง หมดแรง ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง ประมาณ 2-5 นาที จากนั้นจะหลับไปชั่วครู่
3.การชักแบบ Partial Complex : ชักไม่เกิน 3 นาที รู้สึกตัวแต่ไม่ตอบสนองต่อคำพูด
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) : เกิดขึ้นในระยะสั้น แต่เด็กไม่รู้สึกตัว ไม่มีอาการกระตุก
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal) : เมื่อเกิดอาการชักจะหมดสติและหมดความรู้สึก ขณะชัก กล้ามเนื้อเกร็ง แขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
     การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
- จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
- ไม่จับยืดตัวขณะเด็กชัก
- หาหมอนหรือสิ่งนุ่ม รองศรีษะ
- ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก
- จัดเสื้อผ้าให้หลวม
- ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ปาก
- ช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

     ซี.พี. (Cerebral Palsy) : เป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ ไม่สั่งงานให้ร่างกายขยับ
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (Spastic)
   - spastic hemiplegia : อัมพาตครึ่งซีก
   - spastic diplegia : อัมพาตครึ่งท่อนบน
   - spastic paraplegia : อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
   - spastic quadriplegia : อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
   - athetoid : อาการขยุกขยิกหรือเคลื่อนไหวเร็วๆ ที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้า บางคนมีอาการปากเบี้ยวร่วมด้วย
   - ataxia : มีความผิดปกติในการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
   - กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) : เส้นประสาทที่คุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว จะมีความพิการซ้อนในระยะหลังคือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
   - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) : ระบบกล้ามเนื้อพิการตั้งแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก , กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน , อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด   ระบบกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค
   - โปลิโอ (Poliomyelitis) : กล้ามเนื้อเล็กลีบ ไม่มีผลต่อสติปัญญา
   - โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta)
   - โรคศรีษะโต (Hydrocephalus)
   - โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthitis)
   - แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)





การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถแยะแยะกลุ่มอาการบกพร่องของเด็กได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี ทำให้บรรยากาศการเรียนไม่ตึงเครียด





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 20 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
         ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง : เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
         พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน เรียนรู้สิ่งต่างๆได้รวดเร็ว ชอบถาม มีเหตุผลในการแก้ปัญหา จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ จะไม่ชอบฟัง แต่จะชอบเล่า



2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
           เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา : เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำว่าเกณฑ์   แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
     - เด็กเรียนช้า IQ ประมาณ 71-90 สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้แต่ความสามารถในการเรียนจะล่าช้า
     - เด็กบกพร่องทางติปัญญา แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ
               1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
               2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
               3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
               4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) : โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
     อาการ
- ศรีษะเล็กและแบน คอสั้น
- หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
- ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
- ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
- เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
- ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
- มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
- เส้นลายมือตัดขวาง นิ้งก้อยโค้งงอ
- ช่องระหว่างนิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 2 กว้าง
- มีความผิดปกติในระบบต่างๆของร่างกาย
- บกพร่องทางสติปัญญาในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
- อารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ร่างเริง เป็นมิตร
- มีปัญหาในการใช้ภาษาและคำพูด
- อวัยวะเพศเจริญเติบโตไม่เต็มทีทั้งเพศชายและเพศหญิง
     การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
- การเจาะเลือดของมารดาขณะที่ตั้งครรภ์
- อัลตราซาวด์
- การตัดชิ้นเนื้อรก
- การเจาะน้ำคร่ำ

เคนนี่ : เสือที่มีเป็นดาวน์ซินโดรม


เด็กบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired) ; เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน   แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1.เด็กหูตึง : เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง   แบ่งได้ 4 กลุ่ม
- เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 เดซิเบล
- เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 เดซิเบล
- เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 เดซิเบล
- เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 เดซิเบล
    2.เด็กหูหนวก : เด็กที่สูญเสียการได้ยินมาก ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้




เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น (Children with Visual Impairments) : เด็กที่มองไม่เห็นหรือเห็นเลือนราง เห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา   แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
     1.เด็กตาบอด : มองไม่เห็นเลย มรสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาถึงบอดสนิท มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
     2.เด็กตาบอดไม่สนิท : สายตาข้างดีอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200 หรือน้อยกว่านั้น มีลานสายตาเฉลี่ยสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

การนำไปประยุกต์ใช้
         สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในการเป็นครูในอนาคต คือ นำไปสังเกตเด็กว่าเด็กมีความปกติด้านใด

การประเมิน
ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟัง มีการจดบันทึกเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน ; ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินอาจารย์ : หากมีข้อสงสัยอาจารย์จะมีการอธิบายเพิ่มเติมทำให้นักศึกษาเข้าใจได้แจ่มชัด



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 13 มกราคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้เป็นการเรียนครั้งแรก อาจารย์ได้พูดถึงเนื้อหา และกฎกติกาการเรียน พร้อมทั้งแจกใบปั้มมาเรียน


         หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่บทเรียน เนื้อหาที่เรียนวันนี้คือ

        เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ Children with special needs
        เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ คือ Early Childhood with special needs
1.ทางการแพทย์ เรียกว่า เด็กพิการ ซึ่งหมายถึง เด็กที่บกพร่องทางกาย สติปัญญา จิตใจ
2.ทางการศึกษา ให้ความหายเด็กพิเศษว่า เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง

         พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ : การเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆรวมทั้งบุคคล สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ : เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน อาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน ซึ่งหากเป็นด้านหนึ่งอาจส่งผลให้อีกด้านหนึ่งล่าช้าด้วย

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
1.ปัจจัยด้านชีวภาพ
2.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
4.ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.พันธุกรรม
2.โรคของระบบประสาท
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
8.สาเหตุอื่นๆ

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ : พัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน , ปฏิกิริยาสะท้อนไม่หายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ


การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ

Gesell Drawing Test


การนำไปประยุกต์ใช้
         ได้รับความรู้เกี่ยวกับความหมายของเด็กพิเศษ ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ และการประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน จดและทำกิจกรรมตามที่อาจารย์บอก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันอย่างสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ อธิบายละเอียด สอนสนุกทำให้บรรยากาศในการเรียนไม่ตึงเครียด