บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 10 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- ความวิตกกังวล (Anxiety) ทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
- ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษคนอื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน หนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นเรื่องเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
- ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงดูดความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ ไม่ฟังสิ่งที่คนอื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีอาการกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้
- พูดคุยตลอดเวลา เรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียรโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimnation Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
- ขาดเหตุผลในการคิด
- อาการหลงผิด (Delusion)
- อาการประสาทหลอน (Hallucination)
- พฤติกรรมการทำร้ายตนเอง
สาเหตุ
- ปัจจัยทางชีวิภาพ
- ปัจจัยทางจิตสังคม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
- เก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดส่วนต่างๆของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความุรนแรงมาก
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorder)
- เด็กออทิสติก (Autistic)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorder) หรือ ADHD : เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช 3 ประการ คือ
1. Inattentiveness (สมาธิสั้น)
- ทำอะไรได้ไม่นาน ไม่มีสมาธิ
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้
- มักใจลอย เหม่อลอย
- เล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นเรื่อยๆ
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
2. Hyperactivity (อยู่ไม่นิ่ง)
- ซน ไม่อยู่นิ่ง
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
- เหลียวซ้าย แลขวา
- ยุกยิก
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
- นั่งไม่ติดที่
- ชอบคุยเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
3. Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้
- ไม่อดทนต่อการรอคอย
- ไม่อยู่ในกติกา
- ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
- พูดโพล่ง
- ไม่รอให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortax)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
- สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกผิดวิธี แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิ
![]() |
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย |
เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
จากนั้นอาจารย์ให้ดูคลิปกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น โดยกิจกรรมที่นำมาให้เด็กทำนั้นเด็กจะต้องทำได้
การนำไปประยุกต์ใช้
ได้รู้ว่าการที่เด็กมีสมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง แต่เกิดจากการทำงานของสมองของเด็กทำงานผิดปกติ และทำให้ทราบตัวยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น อีกทั้งยังรู้วิธีการบำบัดเด็กสมาธิสั้น โดยสิ่งที่สำคัญในการบำบัดเด็กสมาธิสั้นคือ กิจกรรมนั้นเด็กจะต้องทำได้
การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน จดเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียน ไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการสอดแทรกมุขตลก ยกตัวอย่างเด็กอาการต่างๆจากสถานการณ์จริง มีคลิป มีสื่อการสอนที่ดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้โดยง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น