วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 24 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

          การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                    เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
                    ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
                    เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
                    เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
                    เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
                    แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
                    โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
                    การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
                    การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
                    การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
การบำบัดทางเลือก
                    การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
                    ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
                    ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
                    การฝังเข็ม (Acupuncture)
                    การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

กิจกรรมมือของฉัน
อาจารย์มีคำสั่งว่า ให้วาดมือของตัวเองโดยห้ามดูค่ะ

มือของฉัน
เมื่อวาดเสร็จแล้ว ก็ให้เพื่อนทายว่ามือไหน เป็นมือของใคร




การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ) หรือ AAC
                    การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
                    โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
                    เครื่องโอภา (Communication Devices)
                    โปรแกรมปราศรัย 
Picture Exchange Communication System (PECS)







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
          ทำให้รู้วิธีการส่งเสริมหรือฟื้นฟูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต 

การประเมิน 
ประเมินตนเอง แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมสอดแทรกในบทเรียน ทำให้บรรยากาศการเรียนไม่น่าเบื่อ





วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 17 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ


        รูปแบบการจัดการศึกษา
                    การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
                    การศึกษาพิเศษ (Special Education)
                    การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
                    การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                    เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
การศึกษาแบบเรียนร่วม : (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
                    การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
                    มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
                    ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
                    ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา : (Integration)
                    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
                    เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
                    เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา : (Mainstreaming)
                    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
                    เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
                    มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
                    เด็กปกติจะ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
การศึกษาแบบเรียนรวม : (Inclusive Education)
                    การศึกษาสำหรับทุกคน
                    รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
                    จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

"Inclusive Education is Education for all, 
It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"


ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                     ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
                    สอนได้
                    เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

กิจกรรมวาดภาพดอกบัว


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
- ครูไม่ควรวินิจฉัย
- ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
- ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- สังเกตอย่างมีระบบ
- การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ
- การบันทึกต่อเนื่อง
- การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป








การนำไปประยุกต์ใช้ 
          ทำให้รู้จักการบันทึกพฤติกรรมเด็กแบบต่างๆอย่างเหมาะสม และสามารถเอาไปใช้ได้จริงในอนาคต 

การประเมิน 
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนและการทำกิจกรรม 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์สอนเนื้อหาได้ครบถ้วน มีการนำกิจกรรมมาสอดแทรกเนื้อหาทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ 



วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 10 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
          เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
     ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- ความวิตกกังวล (Anxiety) ทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
- ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

     การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษคนอื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน หนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นเรื่องเพศ





ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
- ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงดูดความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ ไม่ฟังสิ่งที่คนอื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีอาการกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้
- พูดคุยตลอดเวลา เรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียรโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimnation Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
- ขาดเหตุผลในการคิด
- อาการหลงผิด (Delusion)
- อาการประสาทหลอน (Hallucination)
- พฤติกรรมการทำร้ายตนเอง

สาเหตุ
- ปัจจัยทางชีวิภาพ
- ปัจจัยทางจิตสังคม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
- เก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดส่วนต่างๆของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความุรนแรงมาก
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorder)
- เด็กออทิสติก (Autistic)

    เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorder) หรือ ADHD :  เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช 3 ประการ คือ 

1. Inattentiveness (สมาธิสั้น)
          - ทำอะไรได้ไม่นาน ไม่มีสมาธิ
          - ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้
          - มักใจลอย เหม่อลอย
          - เล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นเรื่อยๆ
          - เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
2. Hyperactivity (อยู่ไม่นิ่ง)
          - ซน ไม่อยู่นิ่ง
          - เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
          - เหลียวซ้าย แลขวา
          - ยุกยิก
          - อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
          - นั่งไม่ติดที่
          - ชอบคุยเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
3. Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
          - ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้
          - ไม่อดทนต่อการรอคอย
          - ไม่อยู่ในกติกา
          - ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
          - พูดโพล่ง
          - ไม่รอให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน

สาเหตุ
- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortax)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
- สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกผิดวิธี แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิ

ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย

          เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก

          จากนั้นอาจารย์ให้ดูคลิปกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น โดยกิจกรรมที่นำมาให้เด็กทำนั้นเด็กจะต้องทำได้



การนำไปประยุกต์ใช้
          ได้รู้ว่าการที่เด็กมีสมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง แต่เกิดจากการทำงานของสมองของเด็กทำงานผิดปกติ และทำให้ทราบตัวยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น อีกทั้งยังรู้วิธีการบำบัดเด็กสมาธิสั้น โดยสิ่งที่สำคัญในการบำบัดเด็กสมาธิสั้นคือ กิจกรรมนั้นเด็กจะต้องทำได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียน จดเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียน ไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการสอดแทรกมุขตลก ยกตัวอย่างเด็กอาการต่างๆจากสถานการณ์จริง มีคลิป มีสื่อการสอนที่ดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาการเรียนได้โดยง่าย









วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันที่ 3 มีนาคม 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์แจกปากกาให้คนละ 1 กล่อง จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาการเรียน




     เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) : เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disabilities) เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง โดยไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุ L.D.
- สมองไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรได้
- กรรมพันธุ์

1.ด้านการอ่าน (Reading Disorder) : อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ อ่านออกเสียงไม่ชัด อ่านออกเสียงผิด ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
2.ด้านการเขียน (Writing Disorder) : เขียนตัวหนังสือผิด สับสนรื่องการม้วนหัวตัวอักษร เขียนตามการออกเสียง เขียนสลับ
3.ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder) : ตัวเลขผิดลำดับ ไม่เข้าใจการทดเลข แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
4.หลายๆด้านร่วมกัน





    ออทิสติก (Autistic) : ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว
ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

ออทิสติกเทียม
- ปล่อยให้อยู่กับพี่เลี้ยงหรือผู้สูงอายุ
- ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
- ดูการ์ตูนใทีวี

Autistic Savant
- กลุ่มคิดด้วยภาพ (Visual thinker) จะใช้การคิดแบบอุปนัย
- กลุ่มคิดโดยไม่ใช้ภาพ (Music, Math and Memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย


การนำไปประยุกต์ใช้
         ในอนาคตสามารถแยกได้ว่า เด็กคนไหนมีความบกพร่องด้านใด

การประเมิน
ประเมินตนเอง : แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน มีการซักถามข้อสงสัยกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : เมื่อนักศึกษามีคำถาม อาจารย์ก็ตอบได้กระจ่างชัดค่ะ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560
เวลา 08.30 - 12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค